เปิดตัวทนายแม่น้องชมพู่ โดยมี วินัย ชุมสวัสดิ เป็นหัวหน้าทนายสู้คดี ยืนยันมั่นใจในหลักฐานและเจ้าหน้าที่ตำรวจ สาวิตรี วงศ์ศรีชา หรือ แม่ของน้องชมพู่ แถลงข่าว เปิดตัวทีมทนายความ ขอเป็นโจกท์ร่วมในการต่อสู้คดีให้น้องชมพู่ โดยทีมทนาย มี 4 คน โดยมีนาย วินัย ชุมสวัสดิ เป็นหัวหน้าทีมทนายความ โดยคดีนี้ ยังอยู่ในชั้นพนักงานสอบสวน รอส่งอัยการ หากอัยการมีความเห็นสั่งฟ้อง ก็จะเป็นโจกท์ร่วม แต่หากอัยการสั่งไม่ฟ้องก็จะยื่นฟ้องเอง
นายอัจฉริยะ เรืองรัตนพงศ์ ประธานชมรมช่วยเหลือ อาชญกรรมเป็นที่ปรึกษาคดีนี้
กล่าวว่า ตนได้รับมอบจากแม่ชมพู่ และครอบครัว ให้เป็นที่ปรึกษาและจัดหาทนาย เป็นโจกท์ร่วม ทำในนาม ชมรมช่วยเหลืออาชญกรรม มีทนายความ 4 คน แยกเป็น 2 คน ทำคดีน้องชมพู่ และอีก2คนเป็นคนทำคดีการปกป้องสิทธิ์ กับคนที่ละเมิดให้ร้าย กล่าวหาทั้งทางแพ่งและทางอาญา
ซึ่งทางทนายเอง เผยว่า ไม่ได้หนักใจ การต่อสู้คดี ไม่ใช่อัศวินขี่ม้าขาว คนที่เป็นอัศวิน คือ ตำรวจ เจ้าหน้าที่และพนักงานอัยการ ที่ให้ความเป็นธรรมกับผู้เสียหาย กรณีศึกทนาย ไม่ได้สนใจ เป็นเพียงวาทกรรม แต่เรื่องจริงคือ แม่คือผู้สูญเสีย เท่านั้น การโต้แย้ง ไม่ใช่สาระ หลักฐานสำคัญในคดีนี้ การทำงานของพนักงานสอบสวน จะเปิดออกมาน้อยมาก สิ่งที่เปิดออกมาเป็นหน้าปกสำนวน
นายอัจฉริยะ กล่าวว่า ตนไม่อนุญาติให้นายสิระมาพบกับคุณแม่ เพราะเชื่อมั่นในหลักฐาน ไม่ใช่คดีการเมือง และขอบคุณสส. สิระที่จะมา แต่ไม่ใช่คดีการเมือง เชื่อมั่นใน ผบ.ตร. ที่เอาผิดคนร้ายคดีนี้ได้แน่นอน คดีนี้เกิดความผิดเพี้ยน ผู้สูญเสีย กลับถูกกล่าวหาฆ่าลูกตัวเอง ผู้ต้องหา เป็นซุปเปอร์สตาร์ และเชื่อว่า ตลอดเวลาที่ลงพื้นที่ 7 เดือน ตนพอจะรู้ และอีกฝั่งพึ่งลงมาทำคดี ก็ฟังแต่ลูกความของตัวเอง รับไม่ได้ผู้ต้องหา เป็นดารา ผู้สูญเสียเป็นดารา และช่วยโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
ส่วนการยื่นคำร้องขอค้านปล่อยตัวชั่วคราว เป็นหลักทั่วไป ที่ศาลให้ความเป็นธรรมกับผู้ต้องหา ถ้ามีการทำผิดเงื่อนไข ก็จะยื่นคำร้องต่อศาล ส่วนสาระการต่อสู้คดีจะไม่ขอเปิดเผย เพราะเป็นการต่อสู้คดี
แฉพฤติกรรมครูฉาว โรงเรียนดัง ย่านลาดพร้าว แอบถ่ายภาพนักเรียน โพสต์ คุกคามทางเพศ ร้องเรียนก็มีแต่ตักเตือน นี่หรือที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก
โลกออนไลน์แฉพฤติกรรมครูโรงเรียนดังแห่งหนึ่งย่านลาดพร้าว ทำพฤติกรรมไม่เหมาะสมรุนแรง แอบถ่ายภาพนักเรียน โพสต์ภาพนักเรียนใส่แคปชั่น คุกคามทางเพศ เหยียดนักเรียนหญิง แอบพกเหล้าเข้าโรงเรียน จน #ครู…ย่านลาดพร้าว ติดเทรนด์อันดับ 1 บนทวิตเตอร์
หลังกระแสถูกพูดถึงจำนวนมาก ศิษย์เก่ารายหนึ่งได้โพสต์บอกเล่าพฤติกรรมที่ไมเหมาะสมของครูรายนี้เพิ่มเติม บอกทำตัวไม่เหมาะสมมานานแล้ว หลักๆ หมกมุ่น หยาบคาย เหยียดเพศหญิง โรงเรียนทราบเรื่องก็ทำแค่ตักเตือน
อ.จุฬาฯ ชี้ หมายจับลุงพล เป็นอำนาจศาล กมธ. ก้าวล่วงไม่ได้
อาจารย์คณะนิติจุฬาฯ ชี้ หมายจับลุงพล เป็นอำนาจศาล กรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรม ก้าวล่วงไม่ได้ หลังลุงพลบุกทำเนียบ ผศ.ดร.พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย อาจารย์คณะนิติศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกมาโพสต์ข้อความเฟซบุ๊ก หลังจากที่ นาย ไชย์พล วิภา หรือ ลุงพล ได้ไปร้องต่อกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้ตรวจสอบกรณี ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติไม่ยอมรับมอบตัว ออกหมายจับ และฟ้องเท็จ
โดย ผศ.ดร.พรสันต์ ระบุว่า “ตามข่าวที่ออกมาเกี่ยวกับกรณีทนายษิทราและลุงพลไปยื่นหนังสือต่อคุณสิระ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎรนั้น มีประเด็นทางกฎหมายรัฐธรรมนูญว่าด้วยฝ่ายนิติบัญญัติที่สำคัญมากต้องอธิบายกันครับ
จริงอยู่ว่าในฝ่ายนิติบัญญัติอย่างรัฐสภาจะมี “ระบบคณะกรรมาธิการ” (Committee system) คอยทำหน้าที่รับเรื่องราวร้องทุกข์เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน (Redress of Grievances) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของภารกิจในการใช้อำนาจนิติบัญญัติผ่านการเรียกให้บุคคล หรือหน่วยงานต่างๆ มานำเสนอข้อเท็จจริงต่างๆ ก็ตาม แต่อำนาจดังกล่าวมีขอบเขตจำกัด (Limitation) หาใช้ได้ตามอำเภอใจไม่
ตามหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญแล้ว อำนาจของคณะกรรมาธิการในการรับเรื่องราวร้องทุกข์อันนำไปสู่การแสวงหาข้อเท็จจริงต่างๆ นั้นจะต้อง “อยู่ในส่วนงานของฝ่ายนิติบัญญัติ” (Parliamentary Proceedings) ในฐานะ “ภารกิจช่วยเหลือการดำเนินการของรัฐสภา” หากไม่ได้อยู่ในขอบวงงานรัฐสภา ย่อมไม่สามารถเข้าไปยุ่งเกี่ยวได้ เพราะเป็นการสะท้อนให้เห็นว่าอาจเป็นเรื่องในอำนาจขององค์กรอื่น ตาม “หลักการแบ่งแยกอำนาจ” (Separation of Powers) นั่นเอง
สำหรับกรณีที่เกิดขึ้นในปัจจุบันคือ ทนายษิทราไปยื่นหนังสือร้องเรียนต่อคณะกรรมาธิการกฎหมายฯ โดยกล่าวว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมในการออกหมายจับลุงพล เพราะการที่ศาลออกหมายจับเป็นผลมาจากทางเจ้าหน้าที่ตำรวจยื่นคำร้องเป็นเท็จว่าลุงพลมีพฤติกรรมหลบหนีให้ศาลพิจารณา ซึ่งไม่เป็นความจริง ในความเห็นของผมเห็นว่า คณะกรรมาธิการไม่มีอำนาจในการพิจารณาข้อร้องเรียนดังกล่าวเนื่องจากเป็นข้อจำกัดอำนาจของคณะกรรมาธิการในฝ่ายนิติบัญญัติด้วยเหตุผลหลักอย่างน้อยดังนี้
ประเด็นที่มีการร้องเรียนนั้นเป็นกรณีการออก “หมายจับ” ซึ่งดูราวกับว่าจะเป็นเรื่องอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ แต่ต้องไม่ลืมว่า ในเชิงหลักการแล้ว เจ้าหน้าที่ตำรวจนั้นไม่ได้มีอำนาจเด็ดขาดในการออกหมายจับ แต่เป็นเพียงผู้เสนอในเบื้องต้น (Initiator) ให้ศาลได้ใช้ดุลพินิจขั้นสุดท้ายในการออกหมายจับ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการถ่วงดุลมิให้เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้อำนาจตามอำเภอใจได้ ดังที่ปรากฏอยู่ใน มาตรา 28 ของรัฐธรรมนูญ
แนะนำ : รีวิวหนังไทย | คู่มือพ่อแม่มือใหม่ | แม่และเด็ก | เรื่องผี | แคคตัส กระบองเพชร